//

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเภทอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรม (Industry) คือ กระบวนการแปรรูป หรือ การผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมากๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้

อุตสาหกรรม (Industry) เป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของ หรือ จัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

การแยกประเภทอุตสาหกรรม อาจทำได้ดังนี้ คือ

1. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามกรรมวิธีแยกเป็น 4 ประเภท คือ
1.1 อุตสาหกรรมสกัดจากธรรมชาติ หมายถึง การสกัดหรือแยกหรือนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น การทำเหมืองแร่ การประมง การป่าไม้ (นับว่าเป็นขั้นแรกของการเพิ่มคุณค่าของวัตถุดิบจากธรรมชาติ)
1.2 อุตสาหกรรมการผลิต หมายถึง การนำเอาวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมการสกัดจากธรรมชาติมาผลิตเป็นวัตถุสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น การผลิตกระดาษ การผลิตผ้า
1.3 อุตสาหกรรมการขนส่ง หมายถึง การประกอบการเพื่อนำวัตถุสำเร็จรูปไปยังผู้บริโภค เช่นการเดินเรือ การรถไฟ การเดินอากาศ
1.4 อุตสาหกรรมการบริการ หมายถึง การประกอบกิจการด้านการใช้บริการต่าง ๆ เช่น
การท่องเที่ยว การโรงแรม

2. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะและขนาดของกิจการ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
2.1 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์และเงินทุนสูงมาก เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า
2.2 อุตสาหกรรมขนาดย่อม หมายถึง อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนเงินทุนน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเครื่องอุปโภคทั่ว ๆ ไป เช่น อุตสาหกรรมฟอกหนัง อุตสาหกรรมน้ำตาล
2.3 อุตสาหกรรมในครัวเรือน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำกันภายในครอบครัว ในบ้านที่อยู่อาศัย เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความชำนาญทางฝีมือ เช่น การจักสาน การแกะสลัก

3. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะการใช้ หมายถึง การแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้ผลิตขึ้นมาว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 อุตสาหกรรมสินค้าทุน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้เป็น
วัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น การทำเครื่องจักร การถลุงโลหะ อุตสาหกรรมฟอกหนัง
3.2 อุตสาหกรรมสินค้าบริโภค หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตให้ได้ผลิตผลสำหรับประชาชนนำ

ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป

4. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามสภาพและสมบัติผลิตภัณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
4.1 ประเภทถาวร หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณ์ที่มีความคงทนถาวร หรือมีอายุการใช้
งานนาน เช่น การทำเครื่องจักร
4.2 ประเภทกึ่งถาวร หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานใน
ระยะเวลาอันสั้น เช่น เสื้อผ้า หลอดไฟ ดินสอ
4.3 ประเภทไม่ถาวรหรือประเภทสิ้นเปลือง หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เมื่อใช้งาน
เพียงครั้งเดียวก็แปรสภาพไปหรือไม่อาจนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น อุตสาหกรรมเคมี
อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป
เมื่อมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้น มนุษย์ย่อมมีความต้องการใช้วัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเพิ่มจำนวน
ประชากร ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติก็มีมากขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติมี
จำนวนลดลง จึงจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

5. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะของการผลิต จะแบ่งเป็น 3 ประเภท
5.1 อุตสาหกรรมเบื้องต้น  หรืออุตสาหกรรมที่ 1  เป็นการผลิตเพื่อให้ได้วัตถุดิบไปใช้ประกอบการอย่างอื่น  เช่น  การกสิกรรม  การประมง  การทำเหมืองแร่
5.2 อุตสาหกรรมที่  2  เป็นการผลิตวัตถุสำเร็จรูป  เช่น การทำอาหารกระป๋อง   การสีข้าว
5.3 อุตสาหกรรมที่  3  เป็นกิจการด้านบริการ  เช่น การขนส่ง  การโรงแรม

6. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 17 ประเภท
6.1 ประเภท A เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้
6.2 ประเภท B การประมง
6.3 ประเภท C การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน
6.4 ประเภท D การผลิต
6.5 ประเภท E การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา
6.6 ประเภท F การก่อสร้าง
6.7 ประเภท G การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน
6.8 ประเภท H โรงแรมและภัตตาคาร
6.9 ประเภท I การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม
6.10 ประเภท J การเป็นตัวกลางทางการเงิน
6.11 ประเภท K กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและกิจกรรมทางธุรกิจ
6.12 ประเภท L การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคม ภาคบังคับ
6.13 ประเภท M การศึกษา
6.14 ประเภท N งานด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 
6.15 ประเภท O กิจกรรมด้านการบริการชุมชน สังคมและการบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ
6.16 ประเภท P  ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล
6.17 ประเภท Q องค์การระหว่างประเทศและองค์การต่างประเทศอื่น ๆ และสมาชิก 

7. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามโรงงานอุตสาหกรรม
จำแนกตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
7.1 ประเภทโรงงานหลัก 107 ประเภท

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม