พื้นที่: 1 พันไร่
กลุ่มเป้าหมาย: นักลงทุนญี่ปุ่นกว่า 700 ราย พร้อมดึงต่างชาติต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ คาดเริ่มรับลูกค้าได้ปี 2559 และจะพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในปี 2556 สามารถรองรับลูกค้าได้กว่า 200 ราย ช่วยหนุนนโยบายรัฐ ให้เกิดการลงทุนด้านวิจัยมากขึ้น
ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เน้นการใช้เทคโนโลยี แบ่งเป็น 4 โซน
1. โซนศูนย์การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับให้นักลงทุนเข้ามาสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว
2. โซนนวัตกรรมและศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยี เพื่อรองรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี รวมถึงบริษัทที่เกิดใหม่
3. โซนศูนย์การศึกษา ใช้เป็นพื้นที่สำหรับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ หรือสถาบันอาชีวศึกษา รวมถึงศูนย์ฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับการผลิตบุคลากรด้านงานวิจัย หรือการนำผลวิจัยมาต่อยอดให้เกิดในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น
4. โซนสมาร์ทไลน์ ซึ่งเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะให้นักวิจัยพักอาศัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบวงจร
สำหรับลูกค้าที่จะเข้ามาอยู่ในเมืองวิทยาศาสตร์อมตะนี้ กลุ่มแรกจะเป็นผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนอยู่ในนิคมฯอมตะนครที่มีอยู่กว่า 700 ราย ซึ่งกว่า 60 % เป็นนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีลงทุนด้านอาร์แอนด์ดีอยู่แล้ว ย้ายแผนกวิจัยและพัฒนาออกมาตั้งโดยเฉพาะ เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้นำพื้นที่ไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นต่อ
อ้างอิง: จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,025 วันที่ 8 - 11 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558