//

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

Horti ASIA และ AGRI-Asia 2015

'เทรดโชว์เทคโนฯ เกษตรอัจฉริยะ พืชสวน และพืชไร่ ยกระดับเกษตรกรไทยสู่สากล'
17 – 19 มีนาคม 2558 ณ ไบเทค กรุงเทพฯ


วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค ผู้จัดงานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้ แห่งภูมิภาคเอเชีย และ งานแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรม ด้านเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งภูมิภาคเอเชีย จัดอลังการครั้งยิ่งใหญ่ นำงาน ฮอร์ติ เอเชีย และ อะกริ เอเชีย มาจัดรวมกันในระหว่างวันที่ 17 – 19 มีนาคม 2558 ซึ่งถือได้ว่าคุ้มค่าอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ และเกษตรกร เพราะงานนี้นอกจากจะมีนวัตกรรมพืชสวนและไม้ดอกแล้ว ยังมีนวัตกรรมพืชไร่ เครื่องจักรกลการเกษตรเทคโนโลยี ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ทางต่างประเทศนำมาแสดง ในราคาที่เหมาะสมกับทุกขนาดการลงทุน ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายในการนำ บริษัทชั้นนำระดับสากลจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก มากกว่า 300 บริษัท พร้อมทั้งมีไฮไลท์พาวิลเลียนนานาประเทศ นำวัตกรรมสมัยใหม่มาจัดการแสดงให้ชมกัน บนพื้นที่การจัดงานกว่า 8,000 ตารางเมตร

นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด กล่าวว่า "สำหรับ ฮอร์ติ เอเชีย ในปีหน้า เป็นการจัดงานอย่างต่อเนื่องครั้งที่ 4 โดยเพิ่มงาน อะกริ เอเชีย เข้ามา เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าชมงานและผู้ประกอบการ และยังคงได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางด้านพืชสวนและพืชไร่ ของอาเซียน และภูมิภาคเอเชียตามลำดับ โดยที่ผ่านมา เราได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อดึงผู้ประกอบการ และ ผู้ซื้อจากกลุ่มเป้าหมายในหลายประเทศ อาทิ ไต้หวัน เวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า จีน และเรายังลงพื้นที่จัดกิจกรรมสัญจรตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยจัดสัมมนาใน 6 จังหวัด คือ สงขลา สุพรรณบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่น และอุบลราชธานี ในหัวข้อที่จะเป็นประโยชน์กับท้องถิ่น สำหรับพี่น้องเกษตรกร พืชสวน กล้วยไม้ และพืชไร่ และประชาสัมพันธ์การจัดงานที่กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงวิธีการจัดการเพาะปลูก ปัญหา อุปสรรค และความต้องการของเกษตรกร ชาวสวน ในแต่ละภูมิภาค รวมถึงผู้ค้าและกลุ่มนักลงทุนในปัจจุบัน และนำมาพัฒนาการจัดงาน ฮอร์ติ เอเชีย และ อะกริ เอเชีย 2015 ให้เหมาะสม และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับนักธุรกิจที่เข้าร่วมงานไปจนถึงการยกระดับเกษตรกรไทยสู่สากล''

Horti ASIA ในครั้งนี้นับเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และเป็นงานแสดงสินค้าและสัมมนาที่ชูศักยภาพของประเทศไทยสู่เวทีระดับอาเซียน โดยปีนี้ VNU Exhibitions เพิ่มงานน้องใหม่ AGRI-Asia ซึ่งเป็นงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลการเกษตร รวมเป็นทำให้กลายเป็นงานแสดงสินค้าสุดยอดนวัตกรรมทั้งพืชสวนและพืชไร่ไว้ในเวลาเดียวกัน ในนามของสสปน. เราได้ให้การสนับสนุนผู้จัดงานด้วยการทำกิจกรรมการตลาดในต่างประเทศ อาทิ การเชิญผู้จัดงานร่วม road show ที่ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อประชาสัมพันธ์งานและขยายเครือข่ายรวมถึงชักจูงหน่วยงานสมาคมที่เกี่ยวให้เดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้ทีเส็บยังได้ให้การสนับสนุนแคมเปญการตลาด "Connect Businesses" สำหรับการดึงกลุ่มผู้เข้าชมงานจากต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมงานและทำการจับคู่ธุรกิจภายในงานและแคมเปญ "Be My Guest" เพื่อดึงผู้ซื้อคุณภาพจากทั่วโลกเข้าร่วมงานอีกด้วย"

นอกจากนี้ ดร. ดาเรศร์ กิตติโยภาส นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงรายละเอียดและที่มาที่ไป ของการจัดการจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการสมาคมวิศวกรรมการเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 16 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นการจัดประชุมวิชาการของสมาคมฯ ได้เน้นการนำเสนอผลงานวิจัยเทคโนโลยีและวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับสายงานวิศวกรรมเกษตร อาทิ ด้านเครื่องจักรกลก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ด้านพลังงานหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อมการเกษตร ด้านวิศวกรรมอาหาร-Food Science ด้านวิศวกรรมดิน-น้ำ-ชลประทานและไฮดรอลิคในระบบการเกษตร ด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์-อิเล็คทรอนิคส์-GIS และระบบเกษตรแม่นยำ ที่เรียกว่า Precision Farming และด้านโลจิสติกส์การเกษตร เป็นต้น โดยสมาคมฯ เน้นให้เป็นผลงานที่มีคุณภาพ ผ่านการวิจัยอย่างเป็นระบบ มีการคัดกรองผลงานและกลั่นกรองคุณภาพของผลงานโดยคณะกรรมการวิชาการที่มาจากคณาจารย์ของสถาบันการศึกษาทางด้านวิศวกรรมเกษตรทั้งในและต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือขององค์กรต่างๆ ซึ่งโดยปกติจะมีงานวิชาการที่ร่วมนำเสนอประมาณ 150-200 บทความ มีการจัดพาผู้เข้าร่วมประชุมได้ไปเยี่ยมชมศึกษาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเกษตรที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงงานแปรรูปผลไม้ หรือ โรงเรือนเกษตร (Green House) เป็นต้น สำหรับในการจัดประชุมวิชาการวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 16 ของการประชุมระดับชาติและเป็นครั้งที่ 8 ของการประชุมระดับนานาชาติ ซึ่งสมาคมฯมีความตั้งใจให้เกิดความก้าวหน้าในการจัดงานประชุมวิชาการ จึงได้ทำความร่วมมือกับบริษัท วีเอ็นยู ฯ ในการจัดแสดงเครื่องจักรกลการเกษตรระดับนานาชาติไปพร้อมกับการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมวิชาการสามารถศึกษานวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น

หัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานเครือข่ายปลูกพืชพื้นเมืองไทยและ ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การจัดประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องน้ำมันมะพร้าว ได้ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ชมรมมะพร้าวแห่งเอเชียและแปซิฟิค (Asian and Pacific Coconut Community – APCC) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture of the United Nations – Regional Office for Asia and the Pacific – FAO/RAP) และองค์กร/สถาบันต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมะพร้าวด้านสุขภาพและความงาม ตลอดจนกระบวนการผลิตที่เป็นนวัตกรรม และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของนักวิจัย ผู้ผลิต-จำหน่ายน้ำมันมะพร้าวและผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าว และผู้สนใจทั่วไป ระหว่างวันที่ 17-20 มีนาคม 2558 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในงาน Horti Asia 2015 โดยจะมีการบรรยายสถานการณ์และคุณค่าของน้ำมันมะพร้าวผ่านมุมมองของผู้แทนทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆจากต่างประเทศ รวมไปถึงการนำเสนอผลงานของนักวิชาการจากประเทศต่างๆ ทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ รวมทั้งจะมีการนำผู้เข้าร่วมประชุมไปทัศนศึกษาชมสวนมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ โรงงานผลิตน้ำมันมะพร้าวและผลิตภัณฑ์ที่ได้รางวัลนวัตกรรม โรงงานผลิตกะทิสำเร็จรูป และโรงงานผลิตมะพร้าวน้ำหอมเพื่อส่งออก โดยในช่วงระยะเวลาการจัดประชุมฯ จะมีการนำผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการน้ำมันมะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวอื่นๆ ในประเทศไทย และจากนานาชาติมาร่วมจัดแสดง จำนวนกว่า 20 บู้ท และในปัจจุบัน แพทย์ นักโภชนาการ และประชาชนส่วนมากยังเชื่อว่าการบริโภคน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นน้ำมันอิ่มตัวนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ที่ผ่านมาชมรมฯ ได้ทำการรณรงค์ถึงข้อเท็จจริงของน้ำมันมะพร้าวว่าปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนหันกลับมาบริโภคน้ำมันมะพร้าว โดยในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ นับเป็นเวทีแรกที่จะมีการรวมตัวกันของนักวิชาการด้านน้ำมันมะพร้าวจากทุกภาคส่วนของโลก จึงขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจหรือสงสัยถึงคุณประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว มาแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองต่างๆที่มีต่อน้ำมันมะพร้าว โดยหวังว่าจะสามารถเผยแพร่ข้อมูลการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องกับน้ำมันมะพร้าวมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการบริโภคและเป็นการกระตุ้นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมรวมไปถึงสวนมะพร้าวของประเทศไทยในอนาคตต่อไป

ภายในงาน ฮอร์ติ เอเชีย และ อะกริ เอเชีย ยังมีกิจกรรมสัมมนาที่มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในและต่างประเทศมาร่วมบรรยายในประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย ตลอดงาน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ นางสาวรภัทรธรณ์ มานินธนอนันท์ (อุ้ม)
โทร 02 670 0900 ต่อ 109
อีเมล์: rapatthorn.man@vnuexhibitionsap.com    http://www.hortiasia.net/site/news08_horti-asia-2014.html

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม